More Website Templates @ TemplateMonster.com. Zerotheme.com!

 

๕.คำบุพบท
คำบุพบท  หมายถึง คำที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำหรือประโยค เพื่อให้ทราบว่าคำหรือกลุ่มคำที่ตามหลังคำบุพบทนั้นเกี่ยวข้องกับกลุ่มคำข้างหน้าในประโยคในลักษณะใด เช่น  กับ  แก่  แต่  ต่อ  ด้วย  โดย  ตาม  ข้าง ถึง  จาก  ใน  บน  ใต้  สิ้น สำหรับ  นอก  เพื่อ  ของ  เกือบ  ตั้งแต่ แห่ง  ที่  เป็นต้น เช่น

  • - เขามาแต่เช้า
  • - บ้านของคุณน่าอยู่จริง
  • - คุณครูให้รางวัลแก่ฉัน
  • - เขาให้รางวัลเฉพาะคนที่สอบได้ที่หนึ่ง

 

ชนิดของคำของคำบุพบท
คำบุพบทแบ่งออกเป็น  ๒  ชนิด
๑. คำบุพบทที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำต่อคำ  คือ  ความสัมพันธ์ระหว่างคำนามกับคำนาม  คำสรรพนามกับคำนาม  คำนามกับคำกริยา  คำสรรพนามกับคำสรรพนาม  คำสรรพนามกับคำกริยา คำกริยากับคำนาม  คำกริยากับคำสรรพนาม  คำกริยากับคำกริยา เพื่อบอกสถานการให้ชัดเจน  เช่น
 ๑.๑ บอกสถานภาพความเป็นเจ้าของ  เช่น
                         -  พ่อซื้อสวนของนายทองคำ        (นามกับนาม)
 ๑.๒ บอกความเกี่ยวข้อง  เช่น
                         -  เขาเห็นแก่กิน                         (กริยากับกริยา)
 ๑.๓ บอกการให้และบอกความประสงค์  เช่น
                         -  คุณครูให้รางวัลแก่ฉัน                (นามกับสรรพนาม)
 ๑.๔  บอกเวลา เช่น
                         -  เขามาตั้งแต่เช้า                       (กริยากับนาม)
 ๑.๕  บอกสถานที่ เช่น
                         -  เขามาจากต่างจังหวัด                 (กริยากับนาม)
 ๑.๖  บอกความเปรียบเทียบ เช่น
                         -  พี่หนักกว่าฉัน                               (กริยากับสรรพนาม)
๒. คำบุพบทที่ไม่มีความสัมพันธ์กับคำอื่น  ส่วนมากจะอยู่ต้นประโยค ใช้เป็นการทักทาย  มักใช้ในคำประพันธ์  เช่นคำว่า  ดูก่อน  ข้าแต่  ดูกร คำเหล่านี้ใช้นำหน้าคำสรรพนามหรือคำนาม  เช่น
                         -  ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย
                         -  ข้าแต่ท่านทั้งหลายโปรดฟังข้าพเจ้า

 

หน้าที่ของคำบุพบท  มีดังนี้คือ
๑.  ทำหน้าที่นำหน้านาม เช่น
              -  หนังสือของพ่อหาย                                -  เขาไปกับเพื่อน
๒.  ทำหน้าที่นำหน้าสรรพนาม เช่น
            -  ปากกาของฉันอยู่ที่เขา                          -  ฉันชอบอยู่ใกล้เธอ
๓.  ทำหน้าที่นำหน้ากริยา เช่น
            -  เขากินเพื่ออยู่                                      -  เขาทำงานกระทั่งตาย
๔.  ทำหน้าที่นำหน้าประโยค เช่น

            -  เขามาตั้งแต่ฉันตื่นนอน                      -  เขาพูดเสียงดังกับคนไข้
๕.  ทำหน้าที่นำหน้าคำวิเศษณ์ เช่น
            -  เขาต้องมาหาฉันโดยเร็ว                         -  เขาเลวสิ้นดี

 


 

Refrensi berita: